วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การแต่งกายประจำชาติไทย

การแต่งกายไทย
การแต่งกายไทย ในอดีต-ปัจจุบัน
ชาติไทย เป็นชาติใหญ่ใน เอเชีย มาแต่ก่อน พุทธกาล เรามีแบบ เครื่องแต่งกาย ของเรา โดยไม่ได้ ลอกแบบ ใคร ทั้งสิ้น ไทยสมัย นั้น ชายหญิง ตาม การสันนิษฐาน ว่า นุ่งกางเกง กันเป็นพื้น เราเคยเข้าใจว่า จีนนุ่งกางเกง มาก่อนไทย เพราะมีคำว่า ”กางเกงจีน” ทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น แท้จริงแล้ว จีน น่าจะลอกแบบ ไปจากไทย ด้วยซ้ำ ตามหลักฐาน การค้นคว้า ภายหลังทำให้ทราบชัดขึ้นว่า ไทยไม่ได้ เชื้อสาย มองโกเลีย กับจีน แต่ไทยเรา น่าจะเป็น เชื้อสาย กับ ”มาเลเซีย” มากกว่า และก็ได้แผ่ขยายขึ้นไปจาก แผ่นดิน แหลมทอง ไม่ได้ลงมาจากเหนือ สิ่งที่เป็น พยานหลักฐาน นับว่าได้แก่ บรรดา เครื่องมือดิน และ พวกภาชนะ เครื่องปั้นดินเผา นั่นเอง ทั้งจีนเองก็เพิ่ง เคลื่อนย้าย มาอยู่ ตามแถบ แม่น้ำไหล ( สาขาของ แม่น้ำ แยงซีเกียง ) เรื่องราว 2000 ปี ก่อนพุทธศก นี้เอง แต่ไทยเรา ครอบครองแดน จีน มา ไม่ต่ำกว่า 4500 ปีแล้ว การแต่งกาย ของจีน นั้น รุ่มร่มกว่า เพราะต้องอยู่กับอากาศหนาว และต้องผ่าน ทะเลทราย โคบี อันไพศาล มาด้วย ประกอบกับ ไทยต้องอยู่ในประเทศ ลุ่มๆ ดอนๆ จึงจำต้อง แต่งกาย ให้เหมาะสม และสะดวก ใน การเดินทาง ซึ่งในสมัยนั้น จะดีกว่า การเดินเท้าเปล่า ก็เพียงเลื่อน และ เกวียน การแต่งกาย จึงขึ้นอยู่กับ การอาชีพ สภาพของ ดินฟ้าอากาศ และ ภูมิประเทศ นี่เป็น การสันนิษฐาน เรื่องไทย นุ่งกางเกง มาก่อน

สมัยไทยมุง

สมัยอ้ายลาว

สมัยน่านเจ้า

สมัยทวารวดี

สมัยลพบุรีและสมัย เชียงแสน

สมัยสุโขทัย

สมัยกรุงธนบุรี

สมัยรัชกาลที่ 4–5

สมัยรัชกาลที่ 6

สมัยรัชกาลที่ 7

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

การสวมหมวกของสตรีไทย

สมัยไทยมุง


คำว่า มุง หมายถึง หมู่คณะ จีน เคยเรียกไทยว่า ”ต้ามุง” หมายถึง หมู่คณะใหญ่ สมัยไทยมุง นี้ มีอายุราว 4000 ปี ก่อนสมัย พุทธกาล ส่วนคำว่า ”ไทย” หมายถึง อิสระ หรือ จะมาจากคำว่า ”ไต้” ( คำเดียวกับ ”ต้า” ) ก็หมายถึง ความใหญ่โต มหึมา อีกประการหนึ่ง คำว่า ”มุง” อาจเป็นคำที่ จีน เรียกภายหลัง เมื่อได้เข้ามาพบก็ได้ โดยเรียกเต็มที่ว่า ”มุงลุงปา” ซึ่ง หมายความว่า คาบนิคม ที่ร่วมกลุ่มชนแห่ง นครลุง นครปา เพราะ นครลุง กับ นครปา เป็นเมืองใหญ่ของไทยมาก่อน และ นครปา ก็นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลาง ของ ชาวไทย ดังปรากฏ คำว่า ”ฌ้อปาอ๋อง” เป็นชื่อให้ชอบ สันษนิฐานว่า เจ้าเมือง ฌ้อ ( เป็นคนไทย ) ผู้นี้คงมีอำนาจเหนือ นครปา ภาพที่แสดงไว้ ก็เป็นเพียง ข้อ สันษนิฐานว่า ”คงจะเป็นเช่นนั้น” คือ ทั้งหญิง ทั้งชาย นุ่งเกง เหมือนกัน สวมเสื้อ ไม่มีแขน มีกระดุม ทำด้วยผ้า เหมือนกัน ระยะนั้น การตกแต่งสี บนเสื้อผ้า ยังไม่มี เครื่องประดับ อย่างอื่น ก็ยังไม่นิยมกัน การอยู่รวมกัน โดยวิธี ”สามัคคีธรรม” เป็นแบบอย่าง ความเป็นอยู่ของไทย มาก่อน จึงไม่มีกษัตริย์จะมีก็แต่หัวหน้าเมือง หรือพ่อเมือง เพราะรากฐานปรากฏว่า ไทยมีกษัตริย์ครั้งแรก ใน สมัยอ้ายลาว แต่ระหว่าง นั้นตำแหน่งพ่อเมือง หรือขุนเมือง ก็อยังคงมีอยู่ จนถึง สมัยสุโขทัย ทรงผมของ หญิงชาย ก็น่าจะ เกล้าขึ้นสูง มาตั้งแต่ สมัยดึกดำบรรพ์ แล้ว หาได้ เลียนแบบ มาจากพวก พราหม ในอินเดียไม่มี การเกล้าผมสูง นี้จีนเองก็นิยมเหมือนกัน และดูเหมือน ชาวเอซีย ตะวันออก ทั้งหมด ก็ เกล้าผมสูง แทบทั้งนั้น เมื่อยังไม่มี กษัตริย์ การตกแต่ง ประดับประดา ให้สมกับ ตำแหน่ง ก็อาจจะยังมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม การอยู่รวมกัน เป็นปึกแผ่น ย่อมจะนำ ความเกรงขามมาสู่ ผู้คิดจะรุกราน เป็นธรรมดา แต่ที่ ไทยถูกรุกราน นั้น คงเนื่องมาจาก บางสมัย เสื่อมสามัคคี นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น