วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวที่เฮติ

แผ่นดินไหวในเฮติ เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 7.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร (หรือ 16 ไมล์) โดยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:53:09 ตามเวลาท้องถิ่น [1] ของวันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 หรือตรงกับเวลา 04.53 นาฬิกา ในเช้าวันพุธที่ 13 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย[2] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)[3] องค์กรสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Survey) ได้ตรวจสอบบันทึกและพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 14 ครั้ง ซึ่งมีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 8 ริกเตอร์ หน่วยงานกาชาดสากลได้กล่าวว่ามีคนกว่า 3 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และมีคนเสียชีวิตกว่า 500,000 คน ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถล่มเป็นซากปรักหักพังนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีที่พังถล่มลงมาด้วย
เนื้อหา[
ซ่อน]
1 ความเสียหาย
2 การช่วยเหลือ
3 สมุดภาพ
4 อ้างอิง
//
[
แก้] ความเสียหาย
แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารบ้านเรือนพังพินาศจำนวนมาก
[4] รวมทั้งทำเนียบประธานาธิบดี, อาคารรัฐสภา, กระทรวงการคลัง, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ, อาคารสถานทูต, โรงเรียน, โรงแรมและโรงพยาบาล ที่พังถล่มลงมาทับผู้คน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เสียหายอย่างหนัก โดยนายปัน กีมุน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "แผ่นดินไหวที่เฮติถือเป็นหายนะครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่องค์กรนานาชาติเคยประสบมา"[5]
กระทรวงกิจการภายในของเฮติออกแถลงการณ์ว่า ได้รับคำยืนยันมีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงเป็นจำนวนกว่า 110,000 คนแล้ว โดยตัวเลขล่าสุดจำนวนผู้เสียชีวิตนับตั้งแต่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 12 ม.ค.เป็นต้นมา คือ 111,499 คน
ตัวเลขผู้เสียชีวิตดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากที่เคยประเมินไว้ว่ามีอย่างน้อย 500,000 คน ส่วนผู้บาดเจ็บจากแผ่นดินไหวมี 193,891 คน และอีกกว่า 609,000 คน ต้องอาศัยอยู่ในค่ายพักชั่วคราว 500 แห่ง เจ้าหน้าที่เฮติแสดงความวิตกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตอาจทะลุ 200,000 คน
[
แก้] การช่วยเหลือ
ด้านความช่วยเหลือจากนานาชาติ หลายๆ ประเทศได้ให้การช่วยเหลือต่างๆ โดยแต่ละประเทศที่เข้าช่วยเหลือเฮติในครั้งนี้ ต่างก็เร่งระดมเงินและลำเลียงสิ่งของและอุปกรณ์ช่วยเหลือมาทางเครื่องบิน แต่ต้องประสบปัญหาการบินขึ้นลง เพราะสนามบินกรุงปอร์โตแปรงซ์ มีขนาดเล็ก อีกทั้งการลำเลียงของลงจากเครื่องเป็นไปอย่างล่าช้า เที่ยวบินช่วยเหลือหลายลำต้องบินวนนานกว่า 2 ชม.กว่าจึงจะลงจอดได้ ขณะเดียวกัน ถนนหนทางบางแห่งได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว และมีซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนหล่นมากีดขวางเส้นทาง
[6]
ความช่วยเหลือจากนานาชาติ ในขณะนี้ มีทั้งความช่วยเหลือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วนบุคคล ดังนี้ [7]
สหรัฐอเมริกา - ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แถลงมอบเงินช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหวในเฮติเบื้องต้น 100 ล้านดอลลาร์ (ราว 3,300 ล้านบาท) พร้อมกันนี้ยังได้ขอให้อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2 ท่าน คือ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และนายบิล คลินตัน ช่วยกันระดมเงินช่วยเหลืออีกแรง ส่วนความช่วยเหลือภาคสนาม สหรัฐฯ กำลังส่งทหาร 3,500 นาย เจ้าหน้าที่และแพทย์รวม 300 คน รวมทั้งเรืออีกหลายลำพร้อมทหารหน่วยนาวิกโยธิน 2,200 นาย เข้าปฏิบัติภารกิจกู้ภัยช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหวในเฮติ
เยอรมนี - ได้บริจาคเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวน 1 ล้านยูโร
ชิลี - บริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ธนาคารพัฒนาระหว่างอเมริกา (ไอเอดีบี) - ให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวน 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนธนาคารโลกเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ เพื่อไปประเมินความเสียหายและช่วยฟื้นฟูเฮติ
ไทย - รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่เฮติ เป็นเงินจำนวน 2 หมื่นดอลลาร์และนอกจากนี้ยังส่งเงืนช่วยเหลือเพื่มเติมอีกราว 30 ล้านบาทรวมถึงข้าวสารอีก 2,000,000 ตัน โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงการที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเฮติที่ประสบภัยแผ่นดินไหวจำนวน 2 หมื่นดอลลาร์ น้อยเกินไปหรือไม่ว่าอาจจะมีการเพิ่มการช่วยเหลือด้านอื่น เช่น ส่งทหารช่างเข้าไปช่วยสนับสนุนฟื้นฟูหรือไม่ว่า "เข้าใจว่านั่นเป็นเงินช่วยเหลือก้อนแรกที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่จะทำได้ก่อน ที่เหลือนายกรัฐมนตรีคงจะได้ติดตามดูตามสถานการณ์ว่าควรจะช่วยเหลืออย่างไร ซึ่งก็มีข้อเสนอว่าอาจส่งทหารช่าง ทหารเสนารักษ์ที่มีความพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกฯคงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศประเมินสถานการณ์ดูว่ามีอะไรบ้าง ที่เราสมควรจะช่วยเหลือ แต่ปัญหาคือประเทศนี้อยู่ไกลจากเรามาก ไม่เหมือนกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย หรือฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน เมื่อเกิดเหตุเราขนข้าวของไปได้ กรณีที่เฮติคงเป็นการช่วยเหลือเรื่องเงินทองหรือบุคลากร ซึ่งนายกฯคงจะเรียกผู้เกี่ยวข้องไปหารือต่อไป ซึ่งการช่วยเหลือก้อนแรกก็เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน"
รวมถึงรายได้ทั้งหมดที่ได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลคิงส์คัพ 2010
ส่วนสหประชาชาติแถลงที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ยอดผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่ของยูเอ็นมีแล้วอย่างน้อย 36 คน และยังสูญหายอีกจำนวนมาก พร้อมเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมลงขันช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในเฮติแล้วราว 268.5 ล้านดอลลาร์ (ราว 8,860.5 ล้านบาท)
นอกจากนี้ ยังมีเหล่าดาราคนดังทั้งวงการหนังและวงการเพลงต่างพร้อมใจออกมาช่วยระดมเงิน บริจาคกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง อาทิ คู่สามี-ภรรยาคนดัง แบรด พิตต์ และแองเจลีนา โจลี บริจาคเงินช่วยเหลือ 1 ล้านดอลลาร์ผ่านองค์กร "แพทย์ไร้พรมแดน" จอร์จ คลูนีย์ เตรียมจัดรายการพิเศษออกอากาศทางเครือข่ายของเอ็มทีวีในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ระดมหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ เช่นเดียวกับนักแสดงสาวอลิสซา มิลาโน ทูตสันถวไมตรีขององค์การยูนิเซฟ ไวเคลฟ ฌ็อง นักร้องดังแนวฮิพฮอพที่เกิดในเฮติ นักร้องสาวชากีรา คริส มาร์ติน จากวงโคลด์เพลย์ แห่งอังกฤษ โอปราห์ วินฟรีย์ เจ้าแม่รายการทอล์กโชว์ ดาวตลกเบน สติลเลอร์ และแลนซ์ อาร์มสตรอง นักปั่นน่องทอง ที่เตรียมช่วยระดมทุนหาเงินบริจาคช่วยเหลือชาวเฮติ ขณะที่นางมิเชล โอบามา สตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เรียกร้องประชาชนร่วมบริจาคผ่านแคมเปญส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ซึ่งได้เงินมา 5.9 ล้านดอลลาร์ และมอบให้หน่วยงานกาชาดดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
วันเดียวกัน สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงต่างประเทศ (เอชเอฟพีเอ) ฝ่ายจัดงานมอบรางวัลลูกโลกทองคำ (โกลเดน โกลบส์) ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเบเวอร์ลี ฮิลตัน ย่านเบเวอร์ลี ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ในคืนวันที่ 17 ม.ค.นี้ ตามเวลาท้องถิ่น แถลงยังเดินหน้าจัดงานตามกำหนด โดยระหว่างงานจะมีการระดมเงินบริจาคให้ได้ 100,000 ดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ ผ่านกองทุนช่วยเหลือ "เยเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น